You are now being logged in using your Facebook credentials

www.krukikz.com

 

Font Size

Profile

Layout

Direction

Menu Style

Cpanel

บทที่ 2 : ประเภทของไฟล์ภาพ

 
หน่วยที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับกราฟิก
 
ประกอบด้วยแผนการสอนทั้ง 3 บท ดังนี้
  บทที่ 1 : ความหมายของกราฟิก (2 ชั่วโมง)
  บทที่ 2 : ประเภทของไฟล์ภาพ (2 ชั่วโมง)  
  บทที่ 3 : ระบบสีในงานกราฟิก (2 ชั่วโมง)
 
 
การสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพกราฟิกประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มี ความสำคัญ เพราะความละเอียดของไฟล์ภาพจะส่งผลกับขนาดของภาพ เช่น ภาพที่นำมาใช้งาน บนเว็บเพจควรจะต้องมีขนาดเล็ก เพื่อนำไปเรียกใช้งานบนเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกที่นิยมใช้โดยทั่วไป
 
 
1.  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของไฟล์ภาพกราฟิก
2.  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการค้นหาไฟล์ภาพบนอินเตอร์เน็ต
3.  สามารถประยุกต์ใช้งานประเภทของไฟล์ของภาพกราฟิกต่างๆได้เหมาะสม
4.  สามารถค้นหาไฟล์ภาพจากอินเตอร์เน็ต และบันทึกไฟล์นามสกุลต่างๆได้
5.  มีจริยธรรมที่ดีในการใช้งานอินเตอร์เน็ตสำหรับสืบค้นข้อมูลรูปภาพต่างๆ
 
 
 
 
 

แผนที่ 2  ประเภทของไฟล์ภาพ
 
 
 
2.1  ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิก
 
            
 
             การสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพกราฟิกประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มี ความสำคัญ เพราะความละเอียดของไฟล์ภาพจะส่งผลกับขนาดของภาพ เช่น ภาพที่นำมาใช้งาน บนเว็บเพจควรจะต้องมีขนาดเล็ก เพื่อนำไปเรียกใช้งานบนเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิกที่นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก่

            2.1.1  JPEG หรือ JPG (Join Photographic Export Group)
 
 
 
            เป็นรูปแบบไฟล์ที่เก็บภาพแบบราสเตอร์ที่ไม่ต้องการคุณภาพสูงมากนัก เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือและภาพกราฟิกสำหรับแสดงบนอินเทอร์เน็ต สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี เป็นไฟล์ภาพชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะไฟล์มีขนาดเล็กสามารถบีบอัดข้อมูลได้หลายระดับ 

จุดเด่น
     1. สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit 
     2. แสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
     3. สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
     4. มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อย ๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบโพรเกรสซีฟ (Progressive)
     5. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก 
     6. เรียกดูได้กับบราวเซอร์ (Browser) ทุกตัว
จุดด้อย 
     1. ไม่สามารถทำภาพให้มีพื้นหลังแบบโปร่งใส (Transparent) ได้
     2. ทำภาพเคลื่อนไหว (Animation) ไม่ได้
 
             2.2.2   GIF (Graphic Interchange Format) 
             เป็นไฟล์ภาพที่สามารถบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กได้ส่วนมากจะนำไปใช้บันทึกเป็นไฟล์ภาพ เคลื่อนไหวและนิยมมากในการใช้งานบนเว็บเพจ

จุดเด่น
     1.  สามารถใช้งานข้ามระบบไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) หรือระบบปฏิบัติการ
          ยูนิกซ์ (Unix) ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
     2.  ภาพมีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้อย่างรวดเร็ว
     3.  สามารถทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
     4.  มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
     5.  เรียกดูได้กับบราวเซอร์ทุกตัว
     6.  สามารถนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหวได้
จุดด้อย
     1.  แสดงสีได้เพียง 256 สี 
     2.  ไม่เหมาะกับภาพที่ต้องการความคมชัดหรือความสดใส 
 
            2.2.3   PNG (Portable Network Graphics)
 
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ rilakkuma png          
เป็นชนิดของไฟล์ภาพที่นำจุดเด่นของไฟล์ภาพแบบ GIF และแบบ JPG มาพัฒนาร่วมกัน ทำให้ไฟล์ภาพชนิดนี้แสดงสีได้มากกว่า 256 สี และยังสามารถทำพื้นหลังภาพให้โปร่งใสได้ จึงเป็นไฟล์ภาพที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน 
 

จุดเด่น
     1.   สนับสนุนสีได้ตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit)
     2.   สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
     3.   ทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
จุดด้อย
     1.   หากกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ไว้สูงจะใช้เวลาในการคลายไฟล์ภาพสูงตามไปด้วย 
     2.   ไม่สนับสนุนกับบราวเซอร์รุ่นเก่า 
     3.   โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย

             2.2.4  BMP (Bitmap)
             เป็นรูปแบบของไฟล์ภาพมาตรฐานที่ใช้ได้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยมีลักษณะการจัดเก็บ ไฟล์ภาพเป็นจุดสีทีละจุดจึงทำให้ภาพดูเสมือนจริง
จุดเด่น
      1.   แสดงรายละเอียดสีได้ 24 บิต
      2.   ไม่มีการสูญเสียข้อมูลใด ๆ เมื่อมีการย่อหรือขยายภาพ
      3.   นำไปใช้งานได้กับทุกโปรแกรมในระบบปฏิบัติการวินโดวส์
จุดด้อย 
      1.   ภาพมีขนาดใหญ่มากจึงใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก
      2.   ความละเอียดของภาพอาจจะไม่ชัดเจนเหมือนต้นฉบับ
            
             2.2.5  TIF หรือ TIFF (Tagged Image File
)
 
   
 
             เป็นไฟล์ที่ใช้เก็บภาพแบบราสเตอร์คุณภาพสูง เช่น ภาพกราฟิกที่นำไปทำงานด้านสิ่งพิมพ์ (Artwork) สามารถเก็บข้อมูลของภาพไว้ได้ครบถ้วน ทำให้คุณภาพของสีเหมือนต้นฉบับ 

จุดเด่น 
      1.   สามารถใช้งานข้ามระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์หรือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์  
            ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพชนิดนี้ได้
      2.   แสดงรายละเอียดสีได้ 48 บิต
      3.   ไฟล์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
      4.   เมื่อมีการบีบอัดไฟล์จะมีการสูญเสียข้อมูลน้อยมาก
      5.   มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
จุดด้อย 
      1.   ไฟล์ภาพมีขนาดค่อนข้างใหญ่
      2.   ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ภาพสูง

             2.2.6  PSD (Photoshop Document) 
 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไฟล์ psd
 
            เป็นไฟล์ภาพเฉพาะโปรแกรม Adobe Photoshop    จะทำการบันทึกแบบแยกเลเยอร์ (Layer)
โดยเก็บประวัติการทำงานและรายละเอียดการตกแต่งภาพ เอาไว้ เพื่อง่ายต่อการแก้ไขในภายหลัง 
จุดเด่น 
     1.   มีการบันทึกแบบแยกเลเยอร์และเก็บประวัติการทำงานทุกขั้นตอน
     2.   สามารถนำไฟล์ภาพมาแก้ไขได้ในภายหลัง
จุดด้อย 
     1.   ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับไฟล์ภาพประเภทอื่น
     2.   ไม่สามารถเปิดใช้งานในโปรแกรมอื่นได้
 
 
 

2.2  การค้นหาภาพบนอินเตอร์เน็ต

          เราสามารถค้นหารูปได้แสนง่าย ความสามารถที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบกันนักหนา และสร้างชื่อให้กับ Google ก็คือการค้นหารูปภาพด้วย Google
Search วิธีการใช้ ก็คือ
 
            1. คลิกเมนูลิงค์ รูปภาพ จากนั้นก็พิมพ์ชื่อภาพที่ต้องการค้นหา และคลิกปุ่มค้นหารูปภาพ ดังรูป 
                (หากต้องการค้นหาภาพนามสกุลต่างๆ สามารถเติมชื่อนามสกุลต่อท้ายคำค้นหาได้   เช่น  doraemon .gif  ผลลัพธ์คือ จะแสดงภาพเคลื่อนไหว gif เท่านั้น หากเราระบุนามสกุลที่ต้องการ)

 

              2. จะปรากฏรูปภาพทั้งหมดที่ต้องการดังรูป

 

 
 

 
 
ใบงานที่ 1.2  :  ประเภทของไฟล์ภาพ
 
 

 
กิจกรรมกลุ่ม
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ค้นหาไฟล์ภาพชนิดต่างๆ
บันทึกใส่โฟลเดอร์ตามหัวข้อให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด
 
โดยตั้งชื่อโฟลเดอร์หลักที่หน้า Desktop  ดังนี้
1. ภาพถ่ายวิวทิวทัศน์           นามสกุลไฟล์ .jpg
2. ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว     นามสกุลไฟล์  .gif
 3. ภาพคนพื้นหลังโปร่งใส    นามสกุลไฟล์  .png
 
และให้หัวหน้ากลุ่มนำโฟลเดอร์มารวมกัน ในโฟลเดอร์หลักของกลุ่ม 
และตั้งชื่อโฟลเดอร์ตามเลขที่ของสมาชิก  ตัวอย่าง  งานที่ 2 _ เลขที่ 9 10 11  
 
(( กำหนดเวลา 20 นาที ))
 
 

Follow us on

  • Grab our RSS feed
  • Joomla Fan Club

About US

เว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ วิชาคอมพิวเตอร์  krukikz.com จัดทำโดย นางสาวกฤติยา พลหาญ  ตำแหน่ง ครูชำนาญการ  โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

You are here